วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

อกุศลมูล 3 เเละ อคติ 4


อกุศลมูล 3 
             
หมายถึง ความชั่ว ความไม่ดี บาป มี 3 อย่าง คือ
                 1. โลภะ หมายถึง ความอยากได้ที่เกินพอดี เช่นอยากได้ในสิ่งของที่ไม่ใช่ของตน ฯลฯ
                 2. โทสะ หมายถึง ความโกรธแค้นพยาบาท ความริษยา
                 3. โมหะ หมายถึง การใช้อารมณ์ตัดสิน ไม่ตั้งอยู่ในหลักของเหตุผลและสติปัญญา
                          อคติ 4 
              
อคติ คือความลำเอียง หรือการปฏิบัติต่อคนอย่างไม่เสมอหน้า สาเหตุของความลำเอียงมี 4 ประเภท คือ
                 1. ฉันทาคติ คือลำเอียงเพราะชอบ 

                 
2. โทสาคติ คือ ลำเอียงเพราะชัง
                 3. โมหาคติ คือ ลำเอียงเพราะหลง
                 4. ภยาคติ คือ ลำเอียงเพราะกลัว

                   

โอวาท 3


โอวาท 3 
      โอวาท 3 เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ถือเป็นหลักธรรมที่สำคัญของพระพุทธศาสนา จนกล่าวได้ว่า "เป็นหัวใจ"ของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว เพราะหลักธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน สามารถสรุปเรื่องทั้งหมดลงในโอวาท 3 ซึ่งได้แก่
1. ไม่ทำชั่วทั้งปวง หมายถึง เว้นจากทุจริต คือ เว้นจากการประพฤติชั่ว ด้วยกาย วาจา ใจ

2. ทำแต่ความดี หมายถึง ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ

3. ทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ หมายถึง ทำใจของตนให้หมดจด จากเครื่องเศร้าหมองต่างๆ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

พระพุทธองค์ประทานโอวาท 3 หรือ "โอวาทปาฏิโมกข์" แก่เหล่าภิกษุสงฆ์จำนวน 1,250 องค์ ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ในวันเพ็ญเดือน 3 ที่ "วัดเวฬุวันมหาวิหาร" ใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ

เรื่องโอวาท 3 ในชั้นนี้นะคะ จะเรียนเพียงไม่กี่เรื่องซึ่งจะค่อยๆเขียนรายละเอียดในคราวหน้า วันนี้จะบอกไว้ก่อนค่ะ ว่าเราจะเรียนเรื่องอะไรบ้างในแต่ละหัวข้อใหญ่ๆ ซึ่งได้แก่

***ไม่ทำชั่ว จะเรียนเรื่อง เบญจศีลและอบายมุข 4

***ทำความดี จะเรียนเรื่อง เบญจธรรม, บุญกิริยาวัตถุ 3, อคติ 4, อิทธิบาท 4, กตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธศาสนา, มงคล 38

***ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ จะเรียนเรื่อง สวดมนต์ไหว้พระ, ฝึกสมาธิ, แผ่เมตตา, ฝึกกำหนดรู้, ความรู้สึกต่างๆ


ดูๆแล้วเหมือนกับว่าเยอะนะคะ แต่ก็ไม่ใช่อย่างนั้นค่ะ เรื่องต่างๆที่เรียนเป็นเรื่องที่เรารู้บ้างมาก่อนแล้ว เรามาเรียนแค่เสริมความรู้เก่าๆของเราเท่านั้นเอง ไม่ต้องตกใจไปนะคะ

ทิศ 6


ทิศ 6 บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทางสังคมดุจทิศที่อยู่รอบตัว
  1. ทิศเบื้องหน้า คือ ทิศตะวันออก (ปุรัตถิมทิศ) ได้แก่ มารดาบิดา เพราะเป็นผู้อุปการะแก่เรามาก่อน
    ก. บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ดังนี้
    1. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
    2. ช่วยทำการงานของท่าน
    3. ดำรงวงศ์สกุล
    4. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
    5. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ม่าน
    ข. บิดามารดาย่อมอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้
    1. ห้ามปรามจากความชั่ว
    2. ให้ตั้งอยู่ในความดี
    3. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
    4. หาคู่ครองที่สมควรให้
    5. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร
  2. ทิศเบื้องขวา คือ ทิศใต้ ( ทักษิณทิศ) ได้แก่ ครูอาจารย์ เพราะเป็นทักขิไณยบุคคลควรแก่การบูชาคุณ
    ก. ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ผู้เป็นทิศเบื้องขวา ดังนี้
    1. ลุกต้อนรับ
    2. เข้าไปหา
    3. ใฝ่ใจเรียน
    4. ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
    5. เรียนศิลปะวิทยาโดยเคารพ
    ข. ครูอาจารย์ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้
    1. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
    2. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
    3. สอนศิลปะวิทยาให้สิ้นเชิง
    4. ยกย่องให้ปรากฎในหมู่คณะ
    5. สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ
  3. ทิศเบื้องหลัง คือ ทิศตะวันตก ( ปัจฉิมทิศ) ได้แก่ บุตรภรรยา เพราะมีขึ้นภายหลังและคอยเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ข้างหลัง
    ก. สามีพึงบำรุงภรรยา ผู้เป็นทิศเบื้องหลัง ดังนี้
    1. ยกย่องให้เกียรติสมกับฐานะที่เป็นภรรยา
    2. ไม่ดูหมิ่น
    3. ไม่นอกใจ
    4. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
    5. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส
    ข. ภรรยาย่อมอนุเคราะห์สามี ดังนี้
    1. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
    2. สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
    3. ไม่นอกใจ
    4. รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
    5. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง
  4. ทิศเบื้องซ้าย คือ ทิศเหนือ (อุตตรทิศ) ได้แก่ มิตรสหาย เพราะเป็นผู้ช่วยให้ข้ามพ้นอุปสรรคภัยอันตราย และเป็นกำลังสนับสนุน ให้บรรลุความสำเร็จ
    ก. บุคคลพึงบำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย ดังนี้
    1. เผื่อแผ่แบ่งปัน
    2. พูดจามีน้ำใจ
    3. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
    4. มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
    5. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
    ข. มิตรสหายย่อมอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
    1. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
    2. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
    3. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
    4. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
    5. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร
  5. ทิศเบื้องล่าง ( เหฏฐิมทิศ) ได้แก่ คนรับใช้และคนงาน เพราะเป็นผู้ช่วยทำการงานต่างๆ เป็นฐานกำลังให้
    ก. นายพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นทิศเบื้องล่าง ดังนี้
    1. จัดการงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังความสามารถ
    2. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
    3. จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
    4. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
    5. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันควร
    ข. คนรับใช้และคนงานย่อมอนุเคราะห์นาย ดังนี้
    1. เริ่มการงานก่อนนาย
    2. เลิกงานหลังนาย
    3. ถือเอาแต่ของที่นายให้
    4. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
    5. นำเกียรติคุณของนายไปเผยแพร่
  6. ทิศเบื้องบน (อุปริมทิศ) ได้แก่ สมณพราหมณ์ คือ พระสงฆ์ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรมและเป็นผู้นำทางจิตใจ
    ก. คฤหัสถ์ย่อมบำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นทิศเบื้องบน ดังนี้
    1. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
    2. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
    3. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
    4. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
    5. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4
    ข. พระสงฆ์ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
    1. ห้ามปรามจากความชั่ว
    2. ให้ตั้งอยู่ในความดี
    3. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
    4. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
    5. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
    6. บอกทางสวรรค์ คือ ทางชีวิตที่มีความสุขความเจริญให้

     ที่มา  http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/directions.htm
 

มรรค 8

มรรค 8   ดินแดนปัญญาชนขอนำเสนอแนวทางปฏิบัติตนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทางตรัสสั่งสอนไว้ ซึ่งหลักธรรมที่ฆราวาทพึงปฏิบัติคือ มรรค 8 (บ้างก็เรียก มรรคมีองค์ 8) อันเป็นหนทางแห่งความดับทุกข์ เรียกเต็มๆว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางซึ่งมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ ได้แก่

   1. สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ
   2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ
   3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ
   4. สัมมากัมมันตะ คือ ทำการชอบ
   5. สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ
   6. สัมมาวายามะ คือ เพียรชอบ
   7. สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ
   8. สัมมาสมาธิ คือ ตั้งจิตมั่นชอบ

   เมื่อเราปฏิบัติได้ตามนั้นแล้ว เราก็จะไม่เดือดร้อน สังคมก็จะไม่เดือนร้อน เพราะเราทำตัวชอบ ทำตัวดี เช่น บางคนที่มีความคิดไม่ดี คิดแต่จะโกง จึงกระทำการโกง เอาความรู้หากินแบบผิดๆ มีความพยายามในการโกง ยิ่งมีอำนาจมากก็โกงมาก ออกกฎหมายให้รองรับการโกงของตนและพวก จะพูดคำใด มีแต่คำโกหกพกลม เขาอาจจะรวยในช่วงต้น แต่ช่วงปลายอาจจะหมดตัว อาจถูกกฎหมายลงโทษ อาจไม่มีแผ่นดินอยู่ นั้นเพราะขาด มรรค 8 ในการควบคุมตนเองนั้นเอง


อิทธิบาท 4


อิทธิบาท 4

    
 คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน







ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่


ข้อมูลจาก

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักธรรมน่ารู้

อริยสัจ ๔ :  ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง
            อริยสัจ แปลว่า  ความจริงอันประเสริฐ  หรือความจริงของพระอริยบุคคล”  หมายความว่า ถ้าผู้ใดสามารถรู้ อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญา  ผู้นั้นก็จะเป็นพระอริยบุคคลและที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐนั้นก็เพราะในขณะที่รู้ อริยสัจ ๔  กิเลสทั้งหลายก็ถูกทำลายหายไปจากจิตของผู้นั้นด้วย คือ จิตจะมีสภาพใสสะอาด บริสุทธิ์ พ้นจากสภาพสามัญชนกลายเป็นพระอริยบุคคล  หรือเป็นบุคคลที่ประเสริฐอริยสัจดังกล่าวนี้  เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นผู้ค้นพบหรือได้ตรัสรู้เป็นบุคคลแรกในโลกจึงทำให้พระองค์กลายเป็นพระพุทธเจ้า  หรือเป็นบุคคลผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
             อริยสัจ ๔  จัดเป็นหมวดธรรมที่สำคัญมากของพระพุทธศาสนา  เพราะเป็นที่สรุปรวมของพระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมด  หมายความว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ในพระไตรปิฎกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกนั้น  ก็จะสรุปรวมลงในอริยสัจ ๔ ทั้งสิ้น
            ความหมายของอริยสัจ ๔ แต่ละข้อ เพื่อจำง่ายจึงเป็นตารางได้ดังนี้      
  อริยสัจ ๔
คำแปล
คำขยายความ
ทุกข์
สมุทัย
นิโรธ
มรรค
ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
เหตุให้ทุกข์เกิด
ความดับทุกข์
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ที่จัดว่าเป็นทุกข์เพราะมีลักษณะเบียดเบียน บีบคั้น ทนได้ยาก
ได้แก่ ตัณหาความอยาก  ๓ อย่าง
ได้แก่ การดับตัณหาให้สิ้นไป
ได้แก่  มรรค  ๘ ประการ



            .๑  ทุกข์  ความทุกข์
                  ทุกข์ คือ สิ่งที่เบียดเบียนบีบคั้นทำให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ อันเกิดจากร่างกายหรือจิตใจ ถูกเบียดเบียนแล้ว  ทนได้ยาก  หรือทนไม่ได้ จึงทำให้เกิดเป็นทุกข์ ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อนักเรียนเจ็บไข้ได้ป่วย ปวดหัว ปวดฟัน ปวดท้องอย่างรุนแรงจนทนไม่ได้ ทนไม่ไหว จึงเกิดเป็นทุกข์ทางกาย
                  ในบางครั้ง นักเรียนเกิดอารมณ์เศร้า หดหู่ หรือเกิดอาการกระวนกระวายใจ  เพราะถูกด่าบ้าง เพราะผิดหวังที่ทำอะไรไม่ได้ตามใจบ้าง  จึงเกิดเป็นทุกข์ทางใจ
                  ความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจทั้ง ๒ ประการนี้  จัดเป็นความทุกข์ขั้นพื้นฐานที่เกิดขึ้นประจำวัน  ซึ่งทุกคนต่างก็รู้จักดีและเคยประสบกันมาแล้ว  แต่ความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบในทุกข์อริยสัจนั้น  ยังมีความหมายกว้าง ครอบคลุมไปถึงลักษณะไม่คงที่  มีความแปรปรวนในสิ่งที่ทั้งปวงด้วย  ซึ่งท่านได้แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ คือ
                  .  สภาวทุกข์  คือ ทุกข์ประจำสภาวะ หมายถึง ความทุกข์ที่มีประจำอยู่ในสภาพร่างกายของคนเรา เริ่มตั้งแต่เกิดมามีชีวิต จนถึงตาย ซึ่งมีอยู่ ๓ อย่าง ดังนี้ คือ
                        .๑  ชาติทุกข์ แปลว่า ความเกิดเป็นทุกข์ หมายถึง  การทนทุกข์ทรมานตั้งแต่อยู่ในครรภ์
จนถึงคลอด  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  การเกิดมามีชีวิตได้นั้น ต้องผ่านอันตรายมาได้โดยยากจึงจัดว่าเป็นทุกข์เพราะการเกิด
                        .๒  ชราทุกข์  แปลว่า  ความแก่ชราเป็นทุกข์”  หมายถึง สภาพร่างกายแก่ชราคร่ำครวญทรุดโทรม  แม้จะนั่งจะนอน จะเดินไปมาก็ลำบาก  จึงจัดว่าเป็นความทุกข์เพราะความแก่ชรา
                        .๓  มรณทุกข์  แปลว่า  ทุกข์คือความตาย”  หมายถึง ความตายนั้นเป็นสิ่งที่มาทำลายชีวิตหรือตัดรอนชีวิตของเราให้สิ้นไป  จึงจัดเป็นความทุกข์เพราะความตาย
                  ปกิณณกทุกข์  แปลว่า  ทุกข์เล็กๆ น้อยๆ”  หมายถึง  ความทุกข์ที่จรมาจากที่อื่นโดยเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ตามเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมของชีวิต  มีน้อยบ้างมากบ้าง ผลัดเปลี่ยนกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งมีอยู่ถึง ๘ อย่าง คือ
                        .๑  โสกะ   ความเศร้าใจ ความเสียใจ
                        .๒  ปริเทวะ  ความรำพึงรำพรรณบ่นท้อ 
                        .๓  ทุกขะ   ความไม่สบายกายเพราะเจ็บป่วย
                        .๔  โทมนัสสะ  ความน้อยใจ ความไม่สบายใจ
                        .๕  อุปายาสะ  ความคับใจ ความตรอมใจ
                        .๖  อัปปิยสัมปโยคะ  ประสบสิ่งไม่เป็นที่รักแล้วไม่ชอบใจ
                        .๗  ปิยวิปปโยคะ  ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
                        .๘  อิจฉตาลาภะ  ความผิดหวังไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้
                  อาการทั้งหมดนี้จัดเป็นทุกข์  ความเดือดร้อน  ซึ่งเกิดขึ้นแก่ทุกคน  ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่  และเกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกโอกาส  การที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวพุทธได้รู้จักกับตัวความทุกข์เหล่านั้น มิได้หมายความว่าพระองค์ทรงสอนให้เรามองโลกในแง่ร้าย  แต่ทรงสั่งสอนให้มองโลกตามความเป็นจริง คือ ให้รู้จักกับความเป็นจริงของโลก เพื่อประสงค์จะให้ชาวพุทธไม่ประมาทพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความเป็นจริงนั้น  และสามารถที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาชีวิตของตนได้ทุกโอกาส
            .๒  สมุทัย  เหตุให้ทุกข์เกิด
                  สมุทัย  แปลว่า เหตุให้ทุกข์เกิด”  หมายความว่า  ความทุกข์ทั้งหมดในอริยสัจข้อที่  ๑  เหล่านั้นมิได้เกิดขึ้นมาลอยๆ  จะต้องมีสาเหตุบางอย่างที่ทำให้ทุกข์เกิดขึ้น  พระพุทธองค์นอกจากจะทรงรู้จักตัวความทุกข์อย่างแจ่มแจ้งแล้ว  ยังทรงรู้สึกถึงสาเหตุอันแท้จริงที่ทำให้เกิดความทุกข์นั้นด้วยโดยพระพุทธองค์ทรงชี้ว่า ตัณหา คือความอยากเกินพอดีที่มีอยู่ในจิตใจนั่นเอง  เป็นตัวเหตุให้เกิดความทุกข์ ตัณหา นั้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ
                  กามตัณหา  คือ ความอยากได้อย่างโน้นอย่างนี้ ซึ่งเกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น ตาเห็นรูปสวยงาม ก็เกิดความอยากได้  อยากได้บ้านสวยๆ ราคาแพง อยากได้เสื้อผ้าสวยๆ อยากได้รถยนต์คันงาม เป็นต้น ความอยากทำนองนี้เป็นความอยากในสิ่งที่รักใคร่  และน่าพอใจ เป็นความอยากที่ไม่รู้จบ  เมื่อไม่ได้ตามความประสงค์ก็จะเกิดทุกข์
                  ภวตัณหา  คือ  ความยากเป็นอย่างโน้นอย่างนี้  เป็นความอยากได้ในตำแหน่งฐานะที่สูงขึ้นตามที่ตนรักใคร่และพอใจ เช่น อยากเป็นข้าราชการในตำแหน่งสูงๆ  อยากเป็นมหาเศรษฐีและอยากเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นต้น  เมื่อไม่ได้ดังใจปรารถนาก็เป็นทุกข์
                  วิภวตัณหา  คือ ความอยากไม่เป็นความอยากไม่มี  จัดเป็นความอยากที่ประกอบกับความเบื่อหน่ายในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  โดยต้องการจะหลีกหนีให้พ้นจากสภาพนั้นไป เช่น อยากไม่เป็นคนโง่ อยากไม่เป็นคนพิการ และอยากไม่เป็นคนยากจน เป็นต้น  ซึ่งความอยากไม่เป็นนี้  ถ้าไม่เป็นไปตามที่ตนต้องการแล้วก็จะทำให้เกิดทุกข์ เช่นเดียวกัน
                  ตัณหา คือ ความอยากทั้ง ๓ ประการนี้ ถ้าอยากจนเกินพอดี คือ ไม่ได้คำนึงถึงความเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ ควรหรือไม่ควร เป็นต้น ย่อมทำให้เกิดเป็นทุกข์ทั้งสิ้น
            .๓  นิโรธ  ความดับทุกข์
                  นิโรธ  แปลว่า  ความดับทุกข์”  หมายถึง ความรู้หรือปัญญาที่ทำให้จิตใจของบุคคลสามารถละตัณหาได้  หรือสามารถทำลายตัณหาให้หมดไปจากจิตใจและจิตที่บรรลุนิโรธแล้ว  จะมีลักษณะสงัดจากกิเลส ไม่ยึดมั่นในตัวตน  รวมไปถึงไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงอีกด้วย  คงเหลือแต่ธรรมชาติของความสงบสุขอย่างยิ่ง  ซึ่งทางพระพุทธศาสนาเรียกสภาวะอย่างนี้ว่า  นิพพาน
            .๔  มรรค  :  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
                  มรรค  แปลว่า  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์”  หมายถึง  อริยมรรค  หรือทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการคือ
                  ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิหมายถึง  การรู้เห็นในอริยสัจ ๔  อย่างถูกต้อง  ชัดเจนด้วยปัญญา เช่นรู้ว่าทุกข์อย่างไร รู้ว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อย่างไร รู้ว่าจะดับทุกข์ได้เพราะการดับตัณหา และรู้ว่าอริยมรรค คือทางให้ถึงการดับตัณหาได้
                  ความดำริชอบ  (สัมมาสังกัปปะหมายถึง ความคิดชอบ เช่น มีความคิดหาหนทางที่จะหลีกออกจากกาม ไม่ลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มีความคิดที่จะไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น  และไม่คิดทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น
                  การพูดชอบ  (สัมมาวาจาหมายถึง เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียดเว้นจากการพูดคำหยาบ และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ
                  การกระทำชอบ  (สัมมกัมมันตะหมายถึง  เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
                  การเลี้ยงชีวิตชอบ  (สัมมาอาชีวะหมายถึง  มีความเพียรระวังไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม
                  ควรเพียรชอบ  (สัมมาวายามะหมายถึง  มีความเพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นในตน เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป  พากเพียรทำความดีให้เกิดขึ้น  และเพียรพยายามรักษาความดีทีมีอยู่แล้วให้คงอยู่
                  ความระลึกชอบ  (สัมมาสติหมายถึง ความมีสติระลึกถึงความเป็นไปได้ของสภาพร่างกาย  ระลึกถึงความเป็นไปของเวทนา (ขณะมีอารมณ์ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ระลึกถึงความเป็นไปของจิตว่าเศร้าหมองเพราะกิเลสชนิดใด  จิตที่ผ่องใสเพราะเหตุใด  รวมไปถึงการระลึกถึงความดี ความชั่ว หรือความไม่ดีไม่ชั่วที่เกิดขึ้นในจิตของตน
                  การตั้งจิตให้ชอบ  (สัมมาสมาธิหมายถึง การทำจิตให้เป็นสมาธิ  เริ่มตั้งแต่การทำจิตให้สงบชั่วขณะ  (ขณิกสมาธิการทำจิตให้สงบเกือบจะแน่วแน่ (อุปจารสมาธิและทำจิตให้สงบในขั้นแน่วแน่  (อัปปนาสมธิหรือขั้นเข้าฌานสมาบัติ
            อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการนี้  สามารถที่จะสรุปให้ย่อได้ ดังนี้ คือ
                (การพูดชอบ การกระทำชอบและการเลี้ยงชีวิตชอบ ย่อลงในเรื่องศีล
                (ความพยายามชอบ  ความระลึกชอบและการตั้งจิตมั่นชอบ ย่อลงในเรื่องสมาธิ
(๓)    ความเห็นชอบ  ความดำริชอบ  ย่อลงในเรื่องปัญญา


 ที่มา  http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/directions.htm